(ศธจ.สระแก้ว) ได้ลงพื้นที่ออกติดตามเยี่ยมชมและให้กำลังใจการจัดกิจกรรมนิทรรศการทางวิชาการ “นวัตกรรมทีม PBL quarter 4

วันที่ 8 มีนาคม 2567 นายวัชระ อันโยธา ศึกษาธิการจังหวัดสระแก้ว พร้อมด้วยนางสาวปราณี เชื้อชาติ ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล, นางระพีพรรณ ทินโชคชัย ศึกษานิเทศก์ และนายรุ่งตะวัน โรจนธรธราวัฒน์ นักประชาสัมพันธ์ ได้ลงพื้นที่ออกติดตามเยี่ยมชมและให้กำลังใจการจัดกิจกรรมนิทรรศการทางวิชาการ “นวัตกรรมทีม PBL quarter 4 ณ โรงเรียนบ้านโคกสูง อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 โดยมีนายรังสัน พานเพ็ชร ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโคกสูง นำครูและนักเรียนเสนอผลงานด้านวิชาการ โดยได้นำนักเรียนในระดับชั้นอนุบาล 1 ถึง ป. 3 นำเสนอความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งครูผู้สอนภาษาอังกฤษได้ใช้เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษพัฒนาจากนวัตกรรมสีสันการอ่านของโรงเรียนบ้านหนองแก อำเภอวังน้ำเย็น สังกัด สพป.สระแก้ว เขต 1 มาประยุกต์และพัฒนาต่อยอดใช้ให้เหมาะกับบริบทของโรงเรียนบ้านโคกสูง จนกระทั่งทำให้มีผลสัมฤทธิ์ที่ดีซึ่งเห็นจากการที่นักเรียนในระดับอนุบาลและประถมศึกษา สามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว สามารถอ่านออก เขียนได้ และแปลภาษาอังกฤษได้ จากนั้นผู้อำนวยการโรงเรียนได้นำคณะศึกษาธิการจังหวัดสระแก้ว เยี่ยมชมหน่วยการเรียนรู้ จำนวน 9 หน่วยการเรียนรู้ ดังนี้
1. หน่วยการเรียนรู้เรื่อง “กล้วยมหัศจรรย์”
– การนำส่วนประกอบต่างๆ ของกล้วยมาประกอบอาหาร ประดิษฐ์ของเล่น ของใช้ และการใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆ จากกล้วยมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
2. หน่วยการเรียนรู้เรื่อง “ปั้นน้ำเป็นตัว”
– หน่วยปั้นน้ำเป็นตัว เป็นวิธีการทำวุ้นกะทิจากของเหลวให้จับตัวกันเป็นก้อนตามรูปทรงที่เราต้องการ
3. หน่วยการเรียนรู้เรื่อง “กล้วย กล้วย”
– การเรียนรู้เกี่ยวกับพืช ที่มีประโยชน์และคุณค่า ทุกส่วนของพืช เช่น ราก ลำต้น ผล ใบ นำไปสู่กระบวนคิดที่สร้างนวัตกรรมอย่างสรรค์ และใช่ภูปัญญามาผนวกการคิดค้นสูตรอาหารเพื่อสุขภาพ และคลายร้อน
4. หน่วยการเรียนรู้เรื่อง “แสงศิลป์กับชีวิทย์”
– แสงศิลป์กับชีวิทย์ เรียนรู้เรื่อง แสง สี เสียง การเกิด แสง สี เสียง การสะท้อนแสง เสียง ประยุกต์ เชื่อมโยง เรื่องสีกับเครื่องดื่ม ความถ่วงจำเพาะของน้ำ ได้เป็นเครื่องดื่มหลากสีในแก้วเดียว
5. หน่วยการเรียนรู้เรื่อง “ซุปเปอร์ข้าวโพด”
– การจัดการเรียนการสอนด้วยพืชในท้องถิ่น มาบูรณาการใน 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ หน่วยซุปเปอร์ข้าวโพด จึงเป็นการนำไปสู่การศึกษาส่วนต่างๆของข้าวโพด เช่นลำต้น ใบ ฝัก และเปลือกข้าวโพด รวมถึง ศึกษาการเจริญเติญโต ประโยชน์และคุณค่าทางอาหารของพืช นำไปสู่กระบวนการคิดต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ดอกไม้จากเปลือกข้าวโพด ข้าวโพดคุกเนย ข้าวโพดต้ม เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าในผลผลิตการเกษตร ส่งผลทำให้นักเรียนมีทักษะชีวิต สู่สังคมได้ดี
6. หน่วยการเรียนรู้เรื่อง “อาหารจานเด็ด”
– ข้าวคลุกกะปิ เป็นการเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางสารอาหารครบทุกหมู่โภชนาการ
7. หน่วยการเรียนรู้เรื่อง “ป่าโคกหนองฮัง”
– หน่วย ป่าโคกหนองฮัง การจัดการศึกษาป่าชุมชน โดยมีป่าโคกหนองฮังเป็นฐานในการเรียนรู้ ในการศึกษาพืช ภูมิศาสตร์ และประเพณี รวมทั้งอาหารจากป่าชุมชน นำไปสู่การสร้างจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่น
8. หน่วยการเรียนรู้เรื่อง “พันล้านชีวิต รอบตัวเรา”
– หน่วย 1,000 ล้านชีวิตรอบตัว เรียนรู้เกี่ยวกับเซลล์สิ่งมีชีวิตที่อยู่รอบตัว จุลินทรีย์ พืช สัตว์ การกำเนิดโลกและสิ่งมีชีวิต การจัดระบบสิ่งมีชีวิต เคมีที่เป็นพื้นฐานของชีวิต
9. หน่วยการเรียนรู้เรื่อง “เหนี่ยวใส่ไส้“
– หน่วยสืบสานงานภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องเหนียวใส่ไส้ เนื่องจากสภาพท้องถิ่นบ้านเรามีพืชพรรณที่หลากหลายสามารถนำมาเป็นอาหารขนมหวานไว้รัปประทานได้หลากหลายชนิดที่มีประโชนน์ต่อร่างกายนำมาต่อยอดเชื่อมโยงเป็นขนมใส่ไส้ไว้รับประทานเป็นอาหารว่างและส่งเสริมทักษะอาชีพได้อย่างสร้างสรรค์