วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๗ นางสุริญญาลักษณ์ สุทธิหิรัญรักษ์ รองศึกษาธิการจังหวัด รักษาการในตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัดสระแก้ว ได้มอบหมายให้ข้าราชการในสังกัดและเจ้าหน้าที่ ซึ่งประกอบด้วย
๑. นางธิติมา โฮมแพน ผู้อำนวยการกลุ่มลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน
๒. นางสุติมา คำแฝง ศึกษานิเทศก์ ชำนาญการพิเศษ
๓.นายวรัญญู บัวอินทร์ นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ
๔. นายรุ่งตะวัน โรจนธรธาราวัฒน์ นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการ
๕. นางสาวธิดารัตน์ ศรสุทธิ์ พนักงานจ้างปฏิบัติงานนโยบายและแผน
เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างการรับรู้ทิศทางการพัฒนาประเทศด้านการศึกษา และทิศทางการพัฒนาการศึกษาของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก ๒ พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐ (ฉบับทบทวน) ณ ห้องประชุมบางปะกง โรงแรมที วินเทจ บางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมี ดร.วันเพ็ญ บุรีสูงเนิน ศึกษาธิการภาค ๘ รักษาการในตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ให้เกียรติมาเป็นประธาน และมีนางจันทรา เกียรติลุนสงฆ์ ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์ สำนักงานศึกษาธิการภาค ๙ เป็นผู้กล่าวรายงาน พร้อมทั้งได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิราพร ระโหฐาน รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นวิทยากรบรรยาย โดยมีหัวข้อดังนี้
๑. สร้างการรับรู้ทิศทางการพัฒนาประเทศด้านการศึกษา
๒. ทิศทางการพัฒนาการศึกษาของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก ๒ พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐ (ฉบับทบทวน)
๓. แนวทางการขับเคลื่อนแผนพัฒนาการศึกษากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก ๒ พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐ (ฉบับทบทวน) สู่การปฏิบัติโดยใช้ REC Model Concept ual Reamework
โดยสำนักงานศึกษาธิการภาค ๙ เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนงานด้านการศึกษาในระดับภาคและระดับจังหวัด ให้เป็นไปตามทิศทางการพัฒนาประเทศในระดับต่างๆ จึงได้ดำเนินโครงการขับเคลื่อนการบริหารจัดการการศึกษาในระดับภาคและกลุ่มจังหวัด โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ การสร้างการรับรู้ให้บุคลากรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
ได้รับความรู้เกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาประเทศ จุดเน้นและเป้าหมายด้านการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทสำคัญที่เกี่ยวข้อง และทิศทางการพัฒนาการศึกษาของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก ๒
การประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบไปด้วย ศึกษาธิการจังหวัด, รองศึกษาธิการจังหวัด, ประธานคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชน, ผู้อำนวยการกลุ่มและบุคลากรของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด, บุคลากรจากหน่วยงานทางการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ สำนักงานศึกษาธิการภาค ๙ รวมทั้งสิ้น ๘๐ คน