เทคนิคการจำง่ายๆ ใช้ใด้ในชีวิตประจำวัน (6 มิ.ย. 2561)

brain-rez

เทคนิคการจำง่ายๆ ใช้ใด้ในชีวิตประจำวัน
brain-rez

1.จำรายการของธุระมากมายด้วยเฮาส์ทัวร์ และเจอร์นีย์ ซิสเทม
1.1 เทคนิคเฮาส์ทัวร์ ( House Tour ) 
ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นทัวร์รอบบ้าน หรือเป็นการนำสถานที่ที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดีเป็นตัวช่วยในการจำสิ่งที่จะต้องทำให้เสร็จ โดยมีหลักสำคัญคือ เชื่อมสิ่งที่ต้องการจำกับสิ่งของในบ้านของเราเอง ผูกเป็นเรื่องให้สนุก เปลี่ยนแปลงใด้ตามสิ่งที่ต้องจำและยังเพิ่มได้ไม่จำกัดจำนวนกับสิ่งที่จะต้องจำ ซึ่งนับเป็นเทคนิคช่วยนิคช่วยจำที่ทำตามใด้ง่าย ไม่วับซ้อน เป็นวิธีช่วยจำข้อมูลแบบโรมันโบราณที่มีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับวิธีหนึ่ง

1.2 เทคนิคเจอร์นีย์ ซิสเทม ( Journey Syetem ) คล้ายกันกับเฮาร์ทัวร์ เพียงแต่ใช้เชื่อมกับเส้นทางนอกบ้านที่ผ่านประจำ หากเบื่อ หรือไม่ถนัดผูกเรื่องให้เข้ากับสถานที่ในบ้านตัวเอง ก็ใช้การผูกเรื่องให้เข้ากับจุดสำคัญที่จดจำใด้ในสถานที่ต่างๆ ลองเลือกเส้นทางที่คุ้นเคย หรือต้องใช้เป็นประจำจนจำใด้ขึ้นใจ เช่น ทางไปโรงเรียน ไปทำงาน หรือไปห้างสรรพสินค้า แล้วเชื่อมโยงเข้ากับรายการของ หรือธุรกิจที่ต้องทำมากมายแล้วกลัวจะลืม นี้นับเป็นวิธีที่ดี ยือหยุ่น ไม่ซับซ้อน วิธีนี้อาจต้องสลับเวลาเล็กน้อยในการตระเตรียมเพื่อทำความคุ้นเคยกับเส้นทางล่วงหน้า และมองหาจุดเด่นสำคัญละหว่าทางเชื่อมโยงกับข้อมูลแต่ละข้อที่ต้องการจำให้สอดคล้องและกลมกลืน และเมือเราเริ่มคุ้นเคยกับเทคนิกเราก็สามารถสรรค์สร้างเส้นทางตามจินตนาการได้เอง และสามารถปรับแต่งเรื่องราวในใจใด้ง่ายและลื่นไหลยิ่งขั้นตามการฝึกฝน

การใช้เทคนิคเฮาร์ทัวร์ และเจอร์นีย์ ซิสเทมนี้ มีข้อดีเหมือนกันก็คือ สถานที่เป็นสถานที่คุ้นเคย และสามารถเพื่มการเชื่อมโยงได้มากตามที่ต้องการ ยิ่งต้องการจำมากเท่าไร ก็นำจุดต่างๆ มาเชื่อมโยงเพิ่มขึ้น ทั้งยังจะเริ่มจากตรงใหนก่อนก็ใด้ตามสะดวก เพียงแต่ต้องตรวจสอบว่าใด้เชื่อมโยงสิ่งที่ต้องจำหรือทำไว้อย่างครบถ้วนแล้วเท่านั้น

2.จำตัวเลขยาวๆ

บางคนแค่เห็นตัวเลขเรียงติดๆ กันก็รู้สึกมึนแล้ว เราลองอาศัยเทคนิคโบราณที่เรียกว่า ชังกิ้ง ( Chunking ) ที่เป็นการแบ่งย่อยตัวเลขยาวๆ ให้ย่อยลงเป็นกลุ่มเล็กๆ มาช่วยในการจดจำของเราดู แล้วจะแบ่งตัวเลขอย่างไร สังเกตง่ายๆ จากการเขียนหมายเลขโทรศัพท์บ้าน มือถือ หรือหมายเลขบัญชีธนาคารที่มีตั้ง 10 หลัก ที่มีเครื่องหมาย – คั้นเป็นการเบรกตัวเลขยาวๆ นั่นแหละเทคนิกชังกิ้ง ที่จะทำให้จำง่ายขึ้น ดีกว่าการเขียนติดๆ กันเป็นพรีดเดียว ดูตาลาย และไม่น่าจำ
number

3.เทคนิคการจำเบอร์โทรศัพท์
            เมื่อแรกใด้เบอร์มา ก็เขียนซ้ำๆ พร้อมพูดหมายเลขนี้ย้ำบ่อยๆ เชื่อมโยงตัวเลขเข้ากับข้อมูลที่เราคุ้นเคย เช่น เลขของวัน เดือน ปีเกิด บ้านเลขที่ เบอร์รองเท้า หรือแม้แต่สัดส่วน อกเอว สะโพก ก็นำมาใช้ใด้ เช่น ต้องการจำเบอร์โทรศัพท์เบอร์สำคัญเบอร์นี้ให้ใด้ คืิ 02 377 5459 ซึ้งเลข 02 ไม่จำเป็นต้องจำเพราะเป็นเบอรืบ้านอย่าวไรก็ 02 อยู่แล้ว ก็หาทางเชื่อมโยงกับตัวเลขที่เหลือ

4.จำชื่อและใบหน้าคน

            “เอ คนนี้หน้าคุ้นๆ ชื่ออะไรเนี้ย จำไม่ใด้…”เชื่อว่านี้ก็เป้นปัญหาที่เกือบทุกคนต้องเคยเป็น แล้วก็ทำให้เรารู้สึกแย่ว่า เขาสามารถเขียนชื่อเราใด้กูกต้อง แต่เราสิ รู้สึกคุ้นหน้า คุยกันดิบดี แต่กลับไม่กล้าเอ๋ยชื่อเขา ได้แต่ทำเนียนใช้สรรพนามเรียกแทน ซึ้งการจำหน้าและชื่อผู้คนที่เรารู้จักได้เป็นสิ่งที่ดีควรฝึกฝน ดังนั้นเราควรเตรียมตัว เตรียมความรู้สึกให้พร้อม ตั้งสมาธิเวลาไปงานปาตี้ งานเลี้ยง หรืองานสัมมนาต่างๆ ว่าเราต้องพยายามจำชื่อและใบหน้าคนสำคัญๆ หรือเพื่อนร่วมงานให้ใด้
face

5.จำทิศทาง
              อย่างแรกถ้าไม่อยากหลงทาง หรือจำทางผิด ก่อนเดินทางไปสถานที่ต่างๆ ควรศึกษาเส้นทางเสียก่อน เลือกทางที่สะดวก ไม่วับซ้อน เพื่อไปถึงใด้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะหากอยู่ในกรุงเทพฯ ด้วยแล้วยิ่งต้องหลีกหนีการหลงทาง เพราะกว่าจะย้อนกลับมาใด้นั้นต้องเสียเวลามากเพราะรถติด

6.จำที่จดรถ

               เมื่อเราไปถึงที่จอดรถในสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะสถานที่ใหญ่ๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงแรม สถานที่จัดนิทรรศการ หรือการแสดงต่างๆ ที่มีคนไปเป็นจำนวนมาก มีที่จอดรถหลายอาคารหรือหลายชั้น เราอาจลืมว่าจอดรถไว้ตรงใหน ต้องเดินไปเดินมาอยู่หลายรอบ
carpark-rez

ที่มา : www.dsthegreen.wordpress.com
(
เทคนิคการจำง่ายๆใช้ใด้ในชีวิตประจำวัน)