Highlight
เวลาที่เข้าเว็บไม่ได้ เรามักจะเห็นข้อความพร้อมตัวเลขแจ้งเตือนขึ้นมาอย่าง 404 Page Not Found หรือ 500 Internal Server Error บ้างล่ะ เคยสงสัยไหมว่ามันคืออะไร? สาเหตุที่ทำให้เกิดคืออะไร? และจะแก้ไขเจ้าตัวเลขปัญหาเหล่านี้ยังไง? มาหาคำตอบได้จากบทความนี้เลย
บทนำ : HTTP Status Codes
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ไอ้เจ้าตัวเลข 3 หลัก พร้อมข้อความภาษาอังกฤษ ที่แจ้งเตือนขึ้นมาเวลาเข้าหน้าเว็บไซต์ไม่ได้ อย่าง Error 404 หรือ Error 500 เนี่ย มันคือ “โค้ดบอกสถานะการทำงานของ HTTP (HTTP Status Codes)” ที่บอกว่าการร้องขอข้อมูลจากเครื่องของเราไปยังเซิร์ฟเวอร์ของเว็บไซต์นั้นๆ ทำสำเร็จหรือไม่หรือไม่สำเร็จเพราะอะไร นั่นก็เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด
จากข้อมูลที่อ้างอิงใน Wikipedia ระบุไว้ว่ามี HTTP Status Codes อยู่มากกว่า 70 โค้ดเลยทีเดียว (และจะมากขึ้นอีกในอนาคต) ซึ่งแบ่งโค้ดออกเป็น 5 กลุ่มหลักๆ โดยใช้เลขตัวแรกเป็นตัวระบุกลุ่มของประเภทโค้ด และตามด้วยเลขท้ายอีก 2 ตัว ดังนี้
โค้ดแสดงสถานะของ HTTP (HTTP Status Codes) 1xx / 2xx / 3xx สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปอย่างเราแทบจะไม่เห็นกันเลย ส่วนโค้ดที่เราเห็นกันอยู่บ่อยๆ จะเป็นโค้ด 4xx หรือ 5xx ที่เกิดปัญหาจากเครื่องของเราและเซิร์ฟเวอร์ซะเป็นส่วนใหญ่ โดยเราจะมาทำความเข้าใจกับโค้ดที่พบเห็นกันบ่อยๆ นะครับ
HTTP Status Codes ที่พบเจอบ่อยๆ
มาดูกันครับว่า HTTP Status Codes หรือ Error Code ที่เราพบเจอกันบ่อยๆ นั้น มันเกิดขึ้นได้ยังไง เราจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ยังไง และจะมีอะไรบ้างลองไปดูกันเลย
บอกเลยว่านี่เป็นโค้ดยอดฮิตที่แวะเวียนมาให้เห็นหน้าค่าตากันอยู่บ่อยๆ เวลาที่เรากรอกที่อยู่ URL ผิด หรือที่อยู่เว็บไซต์นั้นไม่มีอยู่จริง (หาย หรือ ปิดไป) ยกตัวอย่าง เช่น หากเราเข้าหน้าเว็บที่ไม่มีอยู่จริงอย่าง www.thaiware.com/1234 ก็จะพบกับโค้ด Error 404 โชว์ขึ้นมาเพื่อบอกว่า “คุณกำลังเข้าสู่หน้าเว็บไซต์ที่ไม่มีอยู่ในเซิร์ฟเวอร์นะ หรือ ไฟล์เหล่านั้นไม่มีอยู่บนเซิร์ฟเวอร์แล้ว”
ส่วนวิธีแก้ปัญหา Error 404 ก็คือตรวจสอบข้อมูลที่อยู่ URL ให้ถูกต้อง แต่ถ้ามั่นใจว่าใส่ถูกต้องแล้วแต่ก็ยังเป็นเหมือนเดิมเข้าไม่ได้ นั่นหมายความว่าที่อยู่เหล่านั้นไม่มีอยู่แล้ว
_______________________________________________
ภาพประกอบจากเว็บไซต์ exchange-server-guide.blogspot.com
ถ้าเปรียบเว็บไซต์เหมือนบ้านของคนอื่น เวลาที่คุณจะเข้าบ้านเขา ก็ต้องขออนุญาตก่อนเข้าบ้านเขาเสียก่อน ซึ่งเจ้าตัวโค้ด Error 403 ตัวนี้ก็เช่นกัน มันคือโค้ดที่บอกว่า คุณไม่สามารถเข้าสู่หน้าเว็บไซต์นั้นได้ เพราะเจ้าของไม่อนุญาต
วิธีแก้ปัญหาของโค้ด 403 Forbidden ก็คือต้องติดต่อกับคนดูแล (Admin) ของเว็บไซต์นั้นๆ เพื่อให้เขามอบสิทธิ์ให้เรา เพื่อที่จะเข้าถึงหน้าเว็บไซต์ของเขา
_______________________________________________
ภาพประกอบจากเว็บไซต์ undsgn.com
Error 500 Internal Server Error เป็นอีกหนึ่งโค้ดที่ผู้ใช้งานอย่างเราๆ เจอกันเป็นประจำตอนที่เว็บไซต์มีปัญหา ต้นตอของปัญหานี้เกิดจากเซิร์ฟเวอร์แม่ข่ายไม่พร้อมให้บริการ หรือกำลังมีปัญหาอยู่ ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงหน้าเว็บไซต์ได้ เจ้าโค้ดนี้ไม่ได้ระบุชัดเจนว่ามีปัญหาอะไร มันแจ้งแค่ว่ากำลังมีปัญหาเท่านั้น
โค้ด Error 500 นี้ แก้ปัญหาไม่ได้เพราะเกิดขึ้นที่เซิร์ฟเวอร์แม่ข่าย ทำได้แค่เพียงแค่ รอจนกว่าทางเซิร์ฟเวอร์จะกลับมาใช้งานได้ตามปกติ ถึงจะสามารถเข้าดูได้
_______________________________________________
รูปภาพประกอบจากเว็บไซต์ http://howtofixbrowserissues.com
ปัญหา Error 502 Service Temporarily Overloaded นี้ พบบ่อยมากๆ เวลาที่เหล่าชาวเน็ตแห่กันไปเข้าสู่เว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่งพร้อมๆ กัน จนเกิดการ Overloaded หรือผู้เข้าชมเยอะเกินกว่าจะรับไหว ส่งผลให้เซิร์ฟเวอร์ล่ม
สำหรับปัญหา Error 502 นี้ เราที่เป็นผู้เข้าชม ไม่สามารถแก้ไขหรือจัดการอะไรได้เลย ถ้าเจอแบบนี้ ไม่ต้องหาวิธีทำอะไร แค่รอให้คนที่เข้าชมเว็บน้อยลง หรือรอให้เซิร์ฟเวอร์กลับมาทำงานเป็นปกติ เราถึงจะเข้าชมเว็บได้ ส่วนมากมักเป็นบ่อยๆ ในเว็บที่เปิดให้จองบัตรหรือตั๋วทั้งหลาย เช่น เว็บจองบัตรคอนเสิร์ต เป็นต้น
_______________________________________________
รูปภาพประกอบจากเว็บไซต์ wpflux.com
Error 503 Service Unavailable ก็คือเซิร์ฟเวอร์ไม่พร้อมให้บริการ เข้าถึงไม่ได้ และระบุไว้ชัดเจนว่าเกิดจากความตั้งใจของตัวผู้ดูแล (Admin) ที่ทำการปิดระบบแบบชั่วคราว
ถ้าเจอโค้ดนี้แสดงขึ้นมาก็บอกเลยว่า เราทำอะไรไม่ได้ ต้องรอจนกว่าทางผู้ดูแลเขาจะจัดการจนเสร็จแล้วกลับมาเปิดอีกครั้ง ซึ่งอาจจะใช้เวลาเท่าไรก็ไม่สามารถระบุได้
ขอขอบคุณบทความและภาพประกอบจาก https://tips.thaiware.com/1077.html