กลยุทธ์ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์ 1 พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์
1.1 พัฒนากลไกการบริหารจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
1.2 เร่งรัด ปรับปรุง แก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับให้เอื้อต่อการปฏิบัติงาน
แนวทางการพัฒนา
1. ปรับปรุงโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานส่วนกลางและภูมิภาคให้เหมาะสม และเอื้อต่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
2. ปรับปรุงกลไกการบริหารจัดการการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล โดยเน้นคุณธรรม ความโปร่งใส
3. พัฒนาหน่วยงานทางการศึกษาในภูมิภาคให้เป็นกลไกการประสานงานการบริหารจัดการการศึกษาแบบมีส่วนร่วมกระจายทั่วประเทศ
4. ปรับปรุง แก้ไข กฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาให้มีความทันสมัย เหมาะสมและเอื้อต่อการปฏิบัติงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์ 2 พัฒนาและส่งเสริมการนำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหาร การบริการและการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์
2.1 พัฒนาระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาให้ครอบคลุมและมีเสถียรภาพ ตอบสนองความต้องการใช้งาน
2.2 พัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางด้านการศึกษาของประเทศให้เป็นเอกภาพ เป็นปัจจุบันและทันต่อการใช้งาน
2.3 สร้างสื่อ คลังสื่อและแหล่งเรียนรู้ดิจิทัลที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและสะดวก
2.4 พัฒนาและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในกระบวนการทำงานและการบริการให้มีประสิทธิภาพ
2.5 จัดหาทรัพยากรพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อใช้ในการบริหาร การบริการ และการเรียนรู้ อย่างพอเพียง ทั่วถึงและเหมาะสมกับการแสวงหาความรู้และจัดการองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง
ประเด็นยุทธศาสตร์ 3 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
กลยุทธ์
3.1 พัฒนาหลักสูตร เนื้อหาสาระ สื่อการเรียนการสอน กระบวนการจัดการเรียน การสอน การนิเทศ การวัด ประเมินผลให้ทันกับความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาการ สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และทิศทางการพัฒนาประเทศ
3.2 ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ความเป็นพลเมืองและพลโลก ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3.3 ยกระดับคุณภาพการศึกษา สร้างอาชีพ สร้างความสมานฉันท์ และเสริมสร้างความมั่นคง ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
3.4 พัฒนางานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้สู่การพัฒนาการศึกษา
แนวทางการพัฒนา
1. ปรับปรุงหลักสูตร เนื้อหาสาระ สื่อการเรียนการสอนให้ทันสมัยยืดหยุ่นหลากหลายเหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละช่วงวัย และบริบทของประเทศ
2. พัฒนารูปแบบและบูรณาการการจัดการเรียนรู้การนิเทศการวัดประเมินผล เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
3. ลดวิชาเรียนในชั้นเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีเวลาพัฒนาทักษะการเรียนรู้นอกห้องเรียน
ให้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละช่วงชั้น
4. ส่งเสริมและบูรณาการการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ความเป็นพลเมือง และพลโลก ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
5. จัดสรรทุนการศึกษาให้กับนักเรียน นักศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
6. พัฒนาทักษะด้านอาชีพให้ผู้เรียนสามารถประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
7. ส่งเสริมการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม ส่งเสริมสันติศึกษา ปลูกฝังจิต สำนึกด้านความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
8. เสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
9. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการวิจัยเชิงนโยบาย การจัดการเรียนรู้ เพื่อสร้างองค์ความรู้และพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ประเด็นยุทธศาสตร์ 4 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการกระจายโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
กลยุทธ์
4.1 ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัด และสนับสนุนการจัดการศึกษา
4.2 สนับสนุนให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งในระบบและนอกระบบให้ผู้เรียนตามสิทธิ
ที่กำหนดไว้
4.3 เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาในระบบ นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงโอกาสทางการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย ครอบคลุมทุกพื้นที่ และเป้าหมาย
แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริม สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัด พัฒนา และส่งเสริมการศึกษา
2. สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบ ด้วยรูปแบบ วิธีการที่หลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็นของกลุ่มเป้าหมาย
4. พัฒนาแหล่งเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ และมีชีวิตด้วยรูปแบบที่หลากหลายให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายและครอบคลุมทุกพื้นที่
5. สนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อเพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษา
6. พัฒนาระบบและกลไกการเทียบโอนผลการเรียนรู้ระหว่างการศึกษาในระบบการศึกษาการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย และประสบการณ์จากการทำงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์ 5 พัฒนาระบบบริหารงานบุคคลของข้าราชการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์
5.1 พัฒนากฎ ระเบียบหลักเกณฑ์การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป
5.2 ปรับปรุงระบบการประเมินวิทยฐานะและสมรรถนะครูให้สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
5.3 พัฒนาข้าราชการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีประสิทธิภาพด้วยรูปแบบที่หลากหลายรวมทั้งนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการพัฒนา
แนวทางการพัฒนา
1. ปรับปรุงแก้ไขกฎ ระเบียบหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาให้ทันสมัยสอดคล้องกับสภาวการณ์
2. ปรับปรุงและพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานอัตรากำลังครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาให้สัมพันธ์กับการพัฒนาผู้เรียนที่เหมาะสมกับระดับและประเภทการศึกษา
3. ปรับปรุงและพัฒนาฐานข้อมูลกลางของครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกสังกัดให้ครอบคลุม และเป็นปัจจุบัน
4. พัฒนาระบบเงินเดือนและค่าตอบแทน สำหรับครูที่มีสมรรถนะสูง ครูที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร เสี่ยงภัย พื้นที่พิเศษ
5. ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินครูเพื่อให้มีและเลื่อนวิทยฐานะให้สอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
6. ส่งเสริมและพัฒนาข้าราชการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ มีมาตรฐาน และสอดคล้องกับสมรรถนะวิชาชีพ เพื่อให้เอื้อต่อการปฏิบัติงานและคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ
7. ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการพัฒนาข้าราชการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงการพัฒนาด้วยรูปแบบที่หลากหลายสอดคล้องกับความต้องการจำเป็น และสมรรถนะวิชาชีพ